เมนู

เป็นที่สุด ถ้าเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา1
มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก
ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.
[224] ดูก่อนอัสสชิ อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้
เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ เชื้อไม่มีก็พึงดับ เพราะหมดน้ำมันและไส้นั้น
ฉันใด ดูก่อนอัสสชิ ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า
เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะ
กายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.
จบ อัสสชิสูตรที่ 6

อรรถกถาอัสสชิสูตรที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในอัสสชิสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กสฺสปการาเม ได้แก่ ในอารามที่กัสสปเศรษฐี
ให้สร้าง.
บทว่า กายสงฺขาเร ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก.
ก็พระอัสสชินั้น ระงับลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านั้น
ด้วยจตุตถฌานอยู่. บทว่า เอวํ โหติ ความว่า บัดนี้เมื่อข้าพระองค์
ไม่ได้สมาธินั้น จึงมีความคิดอย่างนี้. บทว่า โน จ ขฺวาหํ ปริหายามิ
1. เวทนาทางใจ

ความว่า เรายังไม่เสื่อมจากพระศาสนา แลหรือหนอแล. ได้ยินว่า
สมาบัติของท่าน แนบแน่น แน่วแน่แล้ว1 (เป็นอัปปนา) เสื่อมไป
เพราะโทษคืออาพาธ เพราะฉะนั้น ท่านจึงคิดอย่างนี้.
บทว่า สมาธิสารกา สมาธิสามญฺญา ความว่า สมาธินั่นแล
เป็นสาระ และเป็นสามัญญผล แต่ในศาสนาของเรา ตถาคต ยังไม่ใช่
สาระ วิปัสสนา มรรคและผลเป็นต้น (ต่างหาก) เป็นสาระ เธอนั้น
เมื่อเสื่อมจากสมาธิ ไฉนจึงคิดว่า เราเสื่อมจากศาสนา.2
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นปลอบโยนพระเถระอย่างนี้แล้ว
บัดนี้เมื่อจะทรงเริ่มแสดงธรรม มีปริวัฏ 3 แก่พระเถระนั้น จึงตรัสคำว่า
ตํ กึ มญฺญสิ เป็นต้น. ต่อมา เมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องอยู่ประจำ
แก่พระเถระนั้น ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ไนเวลาจบเทศนามีปริวัฏ 3
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส สุขญฺเจ เวทนํ เวทยติ.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อนภินนฺทิตา ปชานาติ พึงทราบ
อธิบายว่า :-
ถามว่า สุขเวทนา มีความเพลิดเพลินยินดี จงยกไว้ก่อนเถิด (ส่วน)
ทุกขเวทนา มีความเพลิดเพลินยินดี เป็นอย่างไร ?

1. ปาฐะว่า ตสฺส กิร อาพาธโทเสน อปฺปิโต สมาปตฺตโต ปริยายิ ฉบับพม่าเป็น ตสฺส กิร
อาพาธโทเสน อปฺปิตปฺปิตา สมาปตฺติ ปริหายิ. แปลตามฉบับพม่า
2. ปาฐะว่า กสฺมา จินฺเตสิ สมาธิโต ปริหายามีติ สาสนโต ปริหายนฺโต นี้ ไม่มีในฉบับพม่า
จึงแปลตามนัยของพม่า.

ตอบว่า บุคคลประสบทุกข์แล้วย่อมปรารถนาสุข ซึ่งก็คือ
ปรารถนาทุกข์นั่นเอง เพราะทุกข์มาถึงเพราะสุขแปรปรวนไป
นักศึกษาพึงทราบความเพลิดเพลินยินดีในทุกข์อย่างนี้. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้น นั่นแล.
จบ อรรถกถาอัสสชิสูตรที่ 6

7. เขมกสูตร



ว่าด้วยไม่มีตนในขันธ์ 5



[225] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นพระเถระหลายรูปอยู่ ณ
โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี. ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเขมกอาพาธเป็นไข้หนัก
ได้รับทุกขเวทนา พักอยู่ที่พทริการาม. ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ภิกษุ
ผู้เป็นพระเถระทั้งหลายออกจากที่พักแล้ว เรียกท่านพระทาสกะมา
กล่าวว่า มาเถิด ท่านทาสกะ จงเข้าไปหาเขมกภิกษุถึงที่อยู่ จงบอกกะ
เขมกภิกษุอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายได้ถามท่าน
อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านพออดทนได้หรือ ยังพอเยียวยาอัตภาพให้เป็นไป
ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้น ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลา
ไม่กำเริบขึ้นหรือ. ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายแล้ว
เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ได้กล่าวแก่ท่านพระเขมกะว่า
ดูก่อนท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านอย่างนี้ว่า อาวุโส
ท่านพออดทนได้หรือ ยังพอเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ฯลฯ
ท่านพระเขมกะตอบว่า ผมอดทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาอันกล้าของผมกำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย ปรากฏว่ากำเริบขึ้น
ไม่ทุเลาเลย.